วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้เป็น
1. Organophosphates Insecticides
ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นพิษโดยการสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนังตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทเนื่องจากมันสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและส่งผลอย่างรวดเร็วต่อระบบประสาททำให้มันทำหน้าที่ฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สารประเภทนี้ไม่ถูกสะสมในไขมันและจะสลายตัวได้ในสภาพที่เป็นด่างทำให้ไม่สะสมในเนื้อเยื่อของคน และสารเคมีประเภทนี้จะสลายตัวภายใน 72 ชั่วโมงในสิ่งแวดล้อมปกติ ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ที่พบตามท้องตลาดคือ chlopyrifos, dichlovos หรือ DDVP ซึ่งพบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ


2. Carbamate Insecticides
ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีไนโตรเจน และซัลเฟอร์ เข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส การกิน และ การซึมผ่านผิวหนัง ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase และกระตุ้นให้ระบบประสาทของแมลงทำงานมากเกินไป สารเคมีประเภทนี้ไม่สะสมสิ่งแวดล้อมและหมดฤทธิ์ในสภาพที่เป็นด่างอย่างรวดเร็ว สารเคมีที่ใช้ในตลาดคือ propoxur พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ และ bendiocarb เป็นผงกำจัดแมลงสาบ
ยาฆ่าแมลงที่มี bendiocarb ผสมอยู่มักอยู่ในรูปของฝุ่นผงหรือแป้งที่เปียกน้ำได้ อันตรายของ bendiocarb มีค่า LD50 (หนู) 46-156 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แสดงว่ามีพิษมาก bendiocarb มีความเป็นพิษสูงถ้ากินเข้าไปหรือดูดซึมผ่านผิวหนัง อาการอ่อนเพลีย เห็นภาพไม่ชัดเจน ปวดศีรษะ วิงเวียน ปวดท้องเกร็ง เจ็บหน้าอก ม่านตาแข็ง เหงื่อออก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ชีพจรลดลง ถ้าสัมผัสทางตา ทำให้ระคายเคืองตา เจ็บตา เห็นภาพไม่ชัดเจน น้ำตาไหล กล้ามเนื้อตาชักกระตุก รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง ในกรณีรุนแรงอาจตายได้เนื่องจากหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อระบบหายใจไม่ทำงาน

3. Botanicals and Pyrethroid Insecticides
สารเคมีในกลุ่มนี้นิยมใช้กำจัดแมลง เช่นยาจุดกันยุงมีสารออกฤทธิ์คือ d-allethrin ซึ่งอาจใช้ในชื่ออื่น (pynamin forte หรือ esbiothrin)
Botanicals เรียกว่า pyrethrins เป็นสารประกอบของสารเคมีหลายชนิดที่ได้จากพืช เป็นพิษโดยการสัมผัสหรือการกิน ส่วนใหญ่ไม่คงอยู่ในสภาพแวดล้อม
Synthetic pyrethroids คล้ายกับ pyrethrins ตามธรรมชาติแต่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มความคงอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นพิษด้วยการสัมผัส เนื่องจากเป็นพิษสูงควรใช้ในปริมาณน้อยๆ นอกจากนี้ยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของยาฆ่าแมลง

1.ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่จะเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตร
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.สะดวกต่อการใช้งาน
4.ได้ผลที่รวดเร็ว

วิธีการใช้

ข้อแนะนำวิธีใช้
1. ระหว่างฉีด หรือพ่น ควรหลีกเลี่ยงและป้องกันการสูดหายใจเอาละอองของสารเคมีกำจัดแมลงเข้าไป ถ้าฉีดหรือพ่นขณะมีลม ควรอยู่เหนือลม2. หลังจากฉีดหรือพ่น ควรปิดห้องไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ละอองของสารเคมีกำจัดแมลงที่กระจายอยู่ในบรรยากาศบริเวณนั้นเจือจางแล้วทำความสะอาดพื้นห้อง เพื่อกำจัดสารที่ตกค้างอยู่ตามพื้น 3. ควรล้างมือ หน้า หรืออาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง หลังจากฉีดหรือพ่นสารเคมีกำจัดแมลง4. ระมัดระวังการรินหรือเทสารเคมีกำจัดแมลง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางผิวหนัง ภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วควรฝังดิน5. อย่าฉีดหรือพ่นในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย ในบริเวณที่มีอาหาร หรือกำลังประกอบอาหาร และบริเวณที่มีเปลวไฟ6. เก็บให้พ้นจากเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร และห่างจากไฟหรือความร้อน

ประเภทของยาฆ่าแมลง

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้เป็น
1. ยาฆ่าแมลงประเภทที่มี ฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นพิษโดยการสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนัง ส่งผลต่อระบบประสาท จะสลายตัวภายใน 72 ชั่วโมงในสิ่งแวดล้อมปกติ ที่พบตามท้องตลาดคือ ไดคลอวอส และ คลอไพริฟอส ซึ่งพบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ , สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ
ไดคลอวอส การหายใจเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน กล่องเสียงอักเสบ ชัก หัวใจเต้นผิดปกติ การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดความระคายเคือง ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีน้ำลายขับออกมามาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน มีเหงื่อขับออกมามาก ท้องร่วง การสัมผัสถูกตาทำให้รูม่านตาหดตัว ปวดตา เกิดการระคายเคือง สามารถทำให้เกิดมะเร็งในคนได้ ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน
คลอไพริฟอส เป็นอันตรายเมื่อกินหรือหายใจเข้าไป อาจระคายเคืองผิวหนัง ถ้าได้รับสารเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายตับหรือไต ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา น้ำตาไหล ตาบวม แดง และมองภาพไม่ชัดเจน ถ้าได้รับสารมากเกินไปจะเกิดอาการภายใน 24 ชั่วโมงทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ม่านตาหดตัว เห็นภาพไม่ชัดเจน มีน้ำมูกหรือน้ำลาย เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ขั้นร้ายแรงทำให้หมดสติ ชัก หายใจลำบาก อาจตายได้เนื่องจากระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว เป็นพิษมากต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ
2. ยาฆ่าแมลงประเภทที่มี ไนโตรเจน และ ซัลเฟอร์ เข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส การกิน และ การซึมผ่านผิวหนัง สารเคมีที่ใช้ในตลาดคือ โพรพอเซอร์ พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ , สเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลงสาบ และ เบนดิโอคาร์บ เป็นผงกำจัดแมลงสาบ
เบนดิโอคาร์บ มักอยู่ในรูปของฝุ่นผงหรือแป้งที่เปียกน้ำได้ มีความเป็นพิษสูงถ้ากินเข้าไปหรือดูดซึมผ่านผิวหนัง อาการอ่อนเพลีย เห็นภาพไม่ชัดเจน ปวดศีรษะ วิงเวียน ปวดท้องเกร็ง เจ็บหน้าอก ม่านตาแข็ง เหงื่อออก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ชีพจรลดลง ถ้าสัมผัสทางตา ทำให้ระคายเคืองตา เจ็บตา เห็นภาพไม่ชัดเจน น้ำตาไหล กล้ามเนื้อตาชักกระตุก รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง ในกรณีรุนแรงอาจตายได้เนื่องจากหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อระบบหายใจไม่ทำงาน
โพรพอเซอร์ ถ้าหายใจเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก การสัมผัสทางผิวหนังไม่เกิดการระคายเคืองแต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ การกลืนกินเข้าไปทำให้เหงื่อออกมาก น้ำลายขับออกมามาก น้ำตาไหล หายใจติดขัด ปวดท้องเกร็ง อาเจียน ท้องร่วง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย การสัมผัสถูกตาทั้งที่เป็นไอและของเหลวทำให้เกิดการระคายเคือง นอกจากนี้ยังเป็นพิษต่อปลาและสัตว์ที่กินปลา
3. ยาฆ่าแมลงประเภทที่เป็นสารประกอบของสารเคมีหลายชนิดที่ได้จากพืช ตัวอย่างยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่
เดลต้าเมทริล ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดความระคายเคือง ถ้าความเข้มข้นสูงจะไปทำลายเยื่อบุเมือก ทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ เกิดอาการหายใจถี่รัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง สามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้ตาแดง เจ็บตา น้ำตาไหล ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์หากมีการใช้และจัดเก็บผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม
ไซเปอร์เมทริล ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง ต่อตา และต่อผิวหนัง อาการชาที่ผิวหนัง คัน ร้อนไหม้ ขาดความสามารถในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน หมดสติ และอาจถึงตายได้ ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ้าได้รับสารเป็นเวลานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ
ไซฟีโนทริน มีพิษมาก ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง ความระคายเคืองต่อการสัมผัส เกิดความรู้สึกผิดปกติบริเวณที่สัมผัส รู้สึกแสบคัน ซ่า และชา เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน ท้องร่วง น้ำลายฟูมปาก หมดสติ ในกรณีที่รุนแรงจะมีน้ำในปอด และกล้ามเนื้อบิดตัว เกิดอาการชัก เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
อัลฟาไซเปอร์เมทริน มีพิษมาก ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ผิวหนัง ถ้าหายใจเข้าไป ทำให้ปวดศีรษะ ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น มีน้ำลายมาก เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะไม่สะสมในดินหรือน้ำ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว
เฟนวาเลอเรต มีพิษมาก ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ถ้าสัมผัสจะแดง ไหม้ รู้สึกชา ซ่า และคัน ถ้าสัมผัสตาจะเกิดอาการตาแดง ปวดตา ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ดี-อัลเลทริน มีพิษมากถึงปานกลาง ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและต่อผิวหนัง การหายใจเอาไอของสารเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ การกลืนกินเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน ท้องร่วง มีน้ำลายมาก เป็นลม ในกรณีรุนแรงอาจเกิดน้ำเข้าปอด กล้ามเนื้อบิดตัว อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ
4. เหยื่อล่อแมลง ใช้ยาฆ่าแมลงผสมกับสิ่งที่กินแมลงสามารถกินได้ ดังนั้นจึงควรเก็บให้เป็นที่ ป้องกันไม่ให้เด็ก สัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์อื่นๆกินเข้าไปได้
5. ยาฆ่าแมลงอื่นๆ
มักเป็นผลึกคล้ายเกลือ มีความคงตัวและละลายน้ำได้ เช่น กรดบอริก พบในสเปรย์กำจัดแมลงสาบ
กรดบอริก มีพิษปานกลาง การหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของทางเดินหายใจ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หากได้รับปริมาณมากอาจหมดสติ และตาย การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคือง และอาจมีอาการเช่นเดียวกับการหายใจและกลืนกินเข้าไป ในผู้ใหญ่ถ้ากินสารนี้เข้าไปมากกว่า 30 กรัมอาจทำให้ตายได้

ยาฆ่าแมลง

ยาฆ่าแมลงที่ใช้ควบคุมและ กำจัดแมลงและไรศัตรูพืชในการ เกษตรและการสาธารณสุขมี สมบัติทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินได้ และ เนื่องจากแมลงได้ทำลายผลผลิต ของพืชเศรษฐกิจให้เสียหายปีละ เป็นจำนวนมาก ทั้งยังเป็นพาหะ นำโรคมาสู่มนุษย์ สัตว์เลี้ยงและ พืชได้อีกด้วยความนิยมใช้ยาฆ่า แมลงในปัจจุบันจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ยาฆ่าแมลงที่ใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงสมัยปัจจุบันพอจะแบ่งออกได้เป็น 7 จำพวกคือ
1. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารอนินทรีย์ inorganic insecticide ได้แก่ สารจำพวกสารหนู กำมะถันผง และคอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulphate) สารหนูเป็นยาฆ่าแมลงที่ใช้กันมานานแล้ว นิยมใช้ในการป้องกันกำจัดแมลง ประเภทปากกัดกิน เช่น แมลงสาบ ปลวก ตั๊กแตน และตัวหนอนผีเสื้อ กินพืชบางชนิด ถึงแม้ว่าจะมีอันตรายน้อยต่อแมลงที่มีประโยชน์ แต่มีพิษ ต่อคนและสัตว์มาก สลายตัวได้ยากและมีพิษต่อพืชสูง2. ยาฆ่าแมลงจำพวกสกัดมาจากพืช (botanical insecticide) ได้แก่ ยาฉุน ได้จากใบยาสูบ โล่ติ้นได้จากรากของต้นหางไหล (Derris elliptica) และไพรีทรินส์ได้จากดอกต้นไพริทรัม (Chrysanthemum cineraiaefolium) ยาฆ่าแมลงจำพวกนี้โดยเฉพาะไพรีทรินส์นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยผสมกับยาฆ่าแมลงอื่นๆ บรรจุในกระป๋องสเปรย์ ฆ่ายุง มีพิษต่อระบบ หายใจของแมลง แมลงจะมีอาการขาดออกซิเจนและเป็นอัมพาตตายในที่สุด มีพิษต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก สลายตัวได้รวดเร็ว จึงไม่มีพิษตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม3. ยาฆ่าแมลงจำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocabon) หรือยาจำพวกออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) ได้แก่ ดีดีที เคลเธน คลอเดน อัลดริน ดรีลดริน ฯลฯ ใช้กำจัดแมลงได้อย่างกว้างขวาง มีพิษคงทนอยู่ในธรรมชาติได้นาน จึงมีปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก4. ยาฆ่าแมลงจำพวกออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates) ได้แก่ พาราไธออนหรือโพลิดอล ซูมิไธออน มาลาไทออน กูซาไทออน เมวินฟอส ไดอะซิโนน ไดซีสตอน ฯลฯ มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าแมลงและ สลายตัวได้รวดเร็วหลังการใช้จึงใช้ได้ดีในพืชผัก โดยการพ่นก่อน เก็บเกี่ยวในระยะเวลาสั้นๆ บางชนิดมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม (systemic insecticide)จึงใช้ได้ดีในการปราบแมลงปากดูด จำพวกเพลี้ย และมวน และแมลงที่กัดกินอยู่ภายในลำต้น เช่น หนอนเจาะลำต้น5. ยาฆ่าแมลงจำพวกคาร์บาเมต (carbamates) ได้แก่ คาร์บารีล หรือเซวิน เทมิค และฟูราแดน เป็นยาฆ่าแมลงที่ค่อนข้างใหม่กว่ายาฆ่าแมลง จำพวกคลอริเนตเตทไฮโดรคาร์บอน และออร์กาโนฟอสเฟต มีพิษต่อ มนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมาก ยกเว้นยาเทมิค สลายตัวได้รวดเร็ว ไม่ ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม แต่มีราคาค่อนข้างแพง6. ยาฆ่าแมลงจำพวกสารที่เป็นเชื้อโรคของแมลง (insect pathogens) ได้แก่ ทูริไซด์และอาร์โกนา ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและไวรอนเอช ผลิตจากไวรัส โดยที่เชื้อโรคของแมลงเหล่านี้รวมทั้งไส้เดือนฝอย สัตว์เซลล์เดียว และเชื้อรา จะทำให้แมลงเกิดเป็นโรคและตายในที่สุด นิยมใช้กันมากในต่าง ประเทศ เช่น ใช้เชื้อแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ในการปราบหนอน คืบผักกาด ข้อดีของยาฆ่าแมลงจำพวกนี้คือ จะมีอันตรายเฉพาะเจาะจงต่อ ศัตรูพืช แต่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อื่นๆ7. ยาฆ่าแมลงจำพวกฮอร์โมนและเฟอโรโมน (hormones and pheromones) ยาฆ่าแมลงจำพวกนี้นับว่าค่อนข้างใหม่มาก และกำลังศึกษา ค้นคว้ากันอยู่ จากการที่ใช้ฮอร์โมนเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบการเจริญเติบโต และระบบการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น ใช้จูวีไนล์ ฮอร์โมน (juvanile hormone) กับลูกน้ำยุง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่เติบโตเป็นยุงตัวเต็มวัย ไม่เกิดการผสมพันธุ์ขึ้น ส่วนเฟอโรโมนนั้น ใช้ในการดึงดูดให้แมลงมารวมกันมากๆ ในจุดที่ต้องการ แล้วทำลายแมลงเหล่านั้นโดยเร็ว หรือการใช้เฟอโรโมนเทียมทำให้แมลง สับสนและหาคู่ผสมพันธุ์ในธรรมชาติไม่ได้ ในที่สุดปริมาณจะลดลงหรือ สูญพันธุ์ไป
จะเห็นได้ว่า ยาฆ่าแมลงมีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติดีขึ้นเรื่อยๆ จาก จำพวกที่ฆ่าได้กว้างขวาง มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นสูง จนถึงจำพวก ที่ฆ่าจำเพาะต่อแมลงศัตรู และมีพิษตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมน้อยมาก จึงควรพิจารณาเลือกใช้ยาฆ่าแมลงที่ผลิตขึ้นมาใหม่ๆ และมีความปลอดภัย ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมสูงเท่านั้น